
บริษัทได้รับใบอนุญาตชั่วคราวจากกรมสรรพสามิตให้สามารถจำหน่ายเอทานอลเกรดอุตสาหกรรมในประเทศ ได้จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 (ข้อมูล ณ วันที่ 29 เมษายน 2564)

ปรับโครงสร้างภายในกลุ่มบริษัท จากรูปแบบเดิมซึ่งเป็น Asset-based Structure หรือแยกตามประเภททรัพย์สิน เป็นการจัดโครงสร้างตามกลุ่มธุรกิจ (Business-based Structure) โดยบริษัทได้จัดกลุ่มและโอนย้ายทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจแต่ละประเภทไปอยู่ภายใต้บริษัทเดียวกันด้วยวิธีการโอนกิจการทั้งหมด (Entire Business Transfer) และการโอนกิจการบางส่วน (Partial Business Transfer) เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายทางภาษีที่เกี่ยวข้องกับการโอนทรัพย์สิน การปรับโครงสร้างกลุ่มบริษัทในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ลดปริมาณรายการระหว่างกัน และเพื่อให้ผลประกอบการของแต่ละธุรกิจสะท้อนอยู่ในงบการเงินของแต่ละบริษัทอย่างเหมาะสม โดยสินทรัพย์หลักที่มีการโอนย้ายภายในกลุ่มบริษัท ได้แก่
(1) ลานรับซื้อมันสำปะหลัง (2) ที่ดินและโรงงานผลิตเอทานอล (3) ที่ดินและโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง (4) บ่อบำบัดน้ำใช้จากกระบวนการผลิต (5) โรงผลิตก๊าซชีวภาพ และโรงไฟฟ้า
การปรับโครงสร้างทางธุรกิจ ประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ 4 ขั้นตอน ดังนี้
(1) บริษัท อุบล ไบโอก๊าซ จำกัด (UBG) โอนกิจการทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วย โรงผลิตก๊าซชีวภาพระบบ UASB และโรงไฟฟ้า 1.9 เมกะวัตต์ ให้แก่ บริษัท เอ็นพี ไบโอ เอนเนอร์ยี่ จำกัด (NPE) จากนั้น UBG ก็ได้ชำระบัญชีและเลิกกิจการ (2) บริษัท อุบลเกษตรพลังงาน จำกัด (UAE) โอนที่ดินและโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง ให้กับ NPE (3) NPE เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท อุบลซันฟลาวเวอร์ จำกัด (UBS) ประกอบธุรกิจแป้งมันสำปะหลัง และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้แก่ การผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงที่ได้จากกระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลัง (4) UAE เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท อุบลไบโอเกษตร จำกัด (UBA) ประกอบธุรกิจเกษตรอินทรีย์ และดูแลบริหารจัดการที่ดินของกลุ่มบริษัท

บริษัทลงทุนปรับปรุงระบบบำบัดน้ำใช้จากกระบวนการผลิตแป้งให้ครบวงจรและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเพิ่มเทคโนโลยีระบบตะกอนเร่ง (Activated Sludge) เพื่อลดระยะเวลาการบำบัดน้ำใช้ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้เร็วขึ้น

ผลิตภัณฑ์แป้งมันสำปะหลังออร์แกนิคได้การรับรองมาตรฐานระบบเกษตรอินทรีย์จากกระทรวงเกษตร อาหารและกิจการชนบทแห่งประเทศเกาหลีใต้ (Ministry of Agriculture, Food and Rural Affairs – MAFRA)

ผลิตภัณฑ์แป้งมันสำปะหลังออร์แกนิคได้การรับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์ สาธารณรัฐประชาชนจีน

โรงงานเอทานอลได้รับใบรับรอง ISO 14001:2015 จาก SGS United Kingdom Ltd.

โรงงานเอทานอลได้รับใบรับรอง ISO 45001:2018 จาก SGS United Kingdom Ltd.

กลุ่มผู้ถือหุ้นปรับโครงสร้างการถือหุ้น โดย (1) บริษัท บีบีจีไอ จำกัด เข้าถือหุ้นแทน BCP และ (2) กลุ่มครอบครัวโควสุรัตน์และผู้ก่อตั้งเดิม 5 ราย เปลี่ยนจากการถือหุ้นในนามบุคคล เป็นการถือหุ้นในนามนิติบุคคล ผ่านบริษัท เค พลัส โฮลดิ้ง จำกัด และบริษัท เอสทีเค แคปปิตอล จำกัด ส่งผลให้สัดส่วนและโครงสร้างการถือหุ้นใหม่เป็นดังนี้

บริษัทแปรสภาพจากบริษัทจำกัดเป็นบริษัทจํากัดมหาชน และเปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นจากหุ้นละ 1,000 บาท เป็นหุ้นละ 1 บาท พร้อมกับเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทจำนวน 1,174,286,000 บาท จากทุนจดทะเบียนเดิมจำนวน 2,740,000,000 บาท เป็นทุนจดทะเบียนใหม่จำนวน 3,914,286,000 บาท เพื่อรองรับการออกและเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO)

ผลิตภัณฑ์แป้งมันสำปะหลังออร์แกนิคได้การรับรองมาตรฐานระบบเกษตรอินทรีย์ญี่ปุ่น (Japanese Agricultural Standard : Organic JAS mark)

โรงงานแป้งมันสำปะหลังได้รับใบรับรอง ISO 9001:2015 จาก United Registrar of Systems

โรงผลิตก๊าซชีวภาพระบบ CLBR ได้รับใบรับรอง ISO 9001: 2015 จาก SGS United Kingdom Ltd.

บริษัทเข้าเป็นสมาชิกแนวร่วมปฎิบัติภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (CAC : Collective Action Against Corruption)

บริษัทได้รับใบรับรอง BRC (British Retail Consortium) จากสมาคมผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกแห่งสหราชอาณาจักร

บริษัทเริ่มผลิตและจำหน่ายแป้งมันสำปะหลังออร์แกนิค

ผลิตภัณฑ์แป้งมันสำปะหลังออร์แกนิคได้การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ USDA organic (U.S. Department of Agriculture) โดยอยู่ภายใต้การบริหารและควบคุมของหน่วยงาน National Organic Program (NOP) สหรัฐอเมริกา

ผลิตภัณฑ์แป้งมันสำปะหลังออร์แกนิคได้การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ EU Organic Certification

โรงผลิตก๊าซชีวภาพได้รับใบรับรอง ISO 9001: 2015 จาก United Registrar of Systems

โรงงานเอทานอลได้รับใบรับรอง ISO 9001:2015 จาก SGS United Kingdom Ltd.

เพิ่มสายการผลิตแป้งมันสำปะหลังจากเดิม 1 สายการผลิตเป็น 2 สายการผลิต โดยมีกำลังการผลิตสายละ 350 ตันต่อวัน รวมกำลังการผลิต 700 ตันต่อวัน

โรงผลิตก๊าซชีวภาพระบบ CLBR เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ โดยสามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้เฉลี่ย 78,000 ลบ. ม. ต่อวัน ตามลำดับ โดยก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้จะนำไปเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าและเป็นพลังงานทดแทนการใช้น้ำมันเตาในการอบแป้งมันสำปะหลัง

ปรับปรุงสายการผลิตแป้งมันสำปะหลัง (สายการผลิตที่ 1) และขยายกำลังการผลิตจาก 300 ตันต่อวัน เป็น 350 ตันต่อวัน

โรงผลิตก๊าซชีวภาพระบบ MUR เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ ซึ่งใช้น้ำที่ผ่านการใช้ในกระบวนการผลิต เอทานอลเป็นวัตถุดิบในการผลิต โดยสามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้เฉลี่ย 98,000 ลบ.ม. ต่อวัน และนำไปแปลงเป็นพลังงานความร้อนเพื่อใช้หมุนเวียนภายในโรงงานผลิตเอทานอล

UBS เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 6 ล้านบาท เป็น 70 ล้านบาท เพื่อลงทุนในโรงผลิตก๊าซชีวภาพด้วยระบบ CLBR สำหรับนำกลับมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตแป้งมันสำปะหลัง และใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับใช้หมุนเวียนภายในโรงงาน

โรงงานผลิตเอทานอลได้รับใบรับรอง ISO 9001:2008 จาก SGS United Kingdom Ltd.

บริษัทเริ่มผลิตและจำหน่ายเอทานอลเชิงพาณิชย์

บริษัท ไทยออยล์ เอทานอล จำกัด (“TET”) และบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปัจจุบันคือบริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ “BCP”) เข้าร่วมลงทุนในโรงงานผลิตเอทานอลของบริษัท โดยบริษัทออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 750,000 หุ้น และกลุ่มผู้ก่อตั้งเดิมขายหุ้นสามัญเดิมจำนวน 416,000 หุ้น ให้แก่ TET และ BCP รายละ 583,000 หุ้น ตามราคาที่ตกลงกัน ซึ่งใกล้เคียงกับมูลค่ายุติธรรมของหุ้น ณ ขณะนั้น โดยบริษัทนำเงินเพิ่มทุนที่ได้รับมาใช้ในการก่อสร้างโรงงานผลิตเอทานอลขนาดกำลังการผลิต 400,000 ลิตรต่อวัน สัดส่วนการถือหุ้นภายหลังการร่วมทุน

บริษัทเริ่มก่อสร้างโรงงานผลิตเอทานอล สายการผลิตที่ 1 ขนาดกำลังการผลิต 400,000 ลิตรต่อวัน

จัดตั้งบริษัท เอ็นพี ไบโอ เอนเนอร์ยี่ จำกัด (ปัจจุบัน คือ บริษัท อุบลซันฟลาวเวอร์ จำกัด หรือ “UBS”) เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2554 โดยมีทุนชำระเริ่มแรก 1 ล้านบาท โดยบริษัทถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 100 เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตก๊าซชีวภาพและกระแสไฟฟ้าเพื่อใช้หมุนเวียนภายในกิจการ

โรงงานผลิตก๊าซชีวภาพระบบ UASB ได้รับใบรับรอง ISO 9001: 2008 จาก United Registrar of Systems

เริ่มผลิตและจำหน่ายแป้งมันสำปะหลังเชิงพาณิชย์ และเริ่มผลิตก๊าซชีวภาพ โดยสามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้เฉลี่ย 36,000 ลบ.ม. ต่อวัน ซึ่งนำกลับไปแปลงเป็นพลังงานความร้อนทดแทนการใช้น้ำมันเตาในการอบแป้งมันสำปะหลัง

UAE เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 830 ล้านบาท เป็น 1,210 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการผลิตแป้งมันสำปะหลัง

UBE เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 600 ล้านบาท เป็น 1,990 ล้านบาท เพื่อรองรับการลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตเอทานอล

UBE เข้าซื้อหุ้นสามัญทั้งหมดของ UAE และ UBG จากกลุ่มผู้ก่อตั้ง

โรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังได้รับใบรับรอง ISO 9001: 2008 จาก United Registrar of Systems

เริ่มก่อสร้างโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง ขนาดกำลังการผลิต 300 ตันแป้งต่อวัน

เริ่มก่อสร้างโรงงานผลิตก๊าซชีวภาพด้วยระบบ UASB เพื่อรองรับน้ำใช้จากกระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลัง

UBA เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 250 ล้านบาท เป็น 830 ล้านบาท เพื่อรองรับการลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง

จัดตั้งบริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (UBE) เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2550 ด้วยทุนชำระเริ่มแรก 600 ล้านบาท เพื่อผลิตและจำหน่ายเอทานอล ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพจากผลิตผลทางการเกษตร

จัดตั้งบริษัท อุบล ไบโอก๊าซ จำกัด (UBG) เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2550 ด้วยทุนชำระเริ่มแรก 60 ล้านบาท เพื่อรองรับการผลิตก๊าซชีวภาพจากวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตเอทานอล

จัดตั้งบริษัท อุบลเกษตรพลังงาน จำกัด (ปัจจุบัน คือ บริษัท อุบลไบโอเกษตร จำกัด หรือ UBA) เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2549 ด้วยทุนชำระเริ่มแรก 250 ล้านบาท เพื่อผลิตและจำหน่ายแป้งมันสำปะหลัง
